ภาพสวยๆ

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

MS Nipaporn

สวัสดีค่ะ
ดิฉันนางสาวนิภาพร จันทบาล
รียนอยู่ที่มหาวิทยาลั
ยราชภัฎ
หมู่บ้านจอมบึง ค บ.3 คอม
พิวเตอร์ศึกษาค่ะ ยอมรับว่าไม่
ชอบการวาดภาพเลยแต่พอมาเรียน
วิชานี้ทำให้รู้สึกว่าสนุกในการเรียนวิชานี้รู้จักการใช้ว่าโทนเย็น
ใช้สีอะไรโทนร้อนใช้สีอะไรและสนุกมากกับการทำ Blog ทำให้
เรามีจินตนาการ มากขึ้นทีเดียว


การสร้างสือการเรียนการสอน


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวสื่อการเรียนการสอน

ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน


ความหมายของสื่อการสอน นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย

ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน

บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ


เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี


ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า


สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว


สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียน


โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ประเภทของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมโดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไปนี้
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
I. ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
i. ภาพเขียน (Drawing)
ii. ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
iii. ภาพตัด (Cut-out Pictures)
iv. สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
v. ภาพถ่าย (Photographs)
II. ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
i. สไลด์ (Slides)
ii. ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
iii. ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
iv. ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
v. ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
vi. ภาพยนตร์ (Video Tape)

2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
I. แผนภูมิ (Charts)
II. กราฟ (Graphs)
III. แผนภาพ (Diagrams)
IV. โปสเตอร์ (Posters)
V. การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
I. การแสดงหุ่น (Pupetry)
ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
1. เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
2. เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
3. เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5. เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
6. เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
7. เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
8. เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
9. เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
10. จอฉายภาพ (Screen)
11. เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
12. เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
13. อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการให้ข้อคิดในการใช้สื่อต่าง ๆ กับการสร้างแบบการเรียนรู้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

คุณค่าและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน

1. ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences)
ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences) เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ตัวอย่างเช่น การทดลองผสมสารเคมี การฝึกหัดทำอาหาร การฝึกหัดตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
2. ประสบการณ์จำลอง (Contrived experience)
เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง อาจเป็นสิ่งของจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง ตัวอย่างเช่น การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง Flight Simulator เป็นต้น
3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience)
เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ ในการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร เพื่อเป็นประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่ข้อมีจำกัดเรื่องยุคสมัยหรือเวลา
4. การสาธิต (Demonstration)
เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ เช่น การสาธิตการอาบน้ำเด็กแรกเกิด การสาธิตการแกะสลักผลไม้ เป็นต้น
5. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)

เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม
6. นิทรรศการ (Exhibits)
เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่ได้จัดแสดงไว้ ในลักษณะของนิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้ายนิเทศ
7. โทรทัศน์ (Television)
เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้
องเรียนและทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
8. ภาพยนตร์ (Motion Picture)
เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิลม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวก็ได้ในกรณีที่เป็นภาพยนตร์เงียบ
9. ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture)
ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture) เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็น ภาพนิ่ง วิทยุ หรือเทปบันทึกเสียง เพื่อให้ประสบการณ์การเรียรู้แก่ผู้เรียน สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว เช่น สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ สไลด์ หรือภาพวาด ภาพล้อ หรือภาพเหมือนจริง ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟังเสียง เป็นต้น ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้ ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ เนื่องจากเป็นการจัดประสบการ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ
10. ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)
สื่อประเภทนี้ ได้แก่ พวกวัสดุกราฟิกทุกประเภท เช่น แผนที่ แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ การ์ตูนเรื่อง หรือสัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย การใช้สื่อการสอนระเภทนี้ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย จึงจะสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อได้เป็นอย่างดี เนื้อหาบทเรียนจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญลักษณ์ หรืองานกราฟิก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย
11. วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols)
เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ ที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าเป็นประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด

การใช้สื่อการเรียนการสอน

1. การวางแผน (Planning)
การใช้สื่อการสอนต้องมีการวางแผน โดยในขั้นของการวางแผนคือการพิจารณาว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการเรียนการสอน ซึ่งรายละเอียดของการเลือกใช้สื่อการสอนได้กล่าวไว้ในหัวข้อหลักการเลือกใช้สื่อการสอน อย่างไรก็ตามการวางแผนเป็นขั้นตอนแรก และเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก ผู้ใช้สื่อการสอนควรเลือกใช้สื่อการสอนโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน หากการวางแผนผิดพลาด ก็จะทำให้การใช้สื่อการสอนล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้ปฏิบัติการใช้สื่อการสอนเลย
2. การเตรียมการ (Preparation)
เมื่อได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้
2.1 การเตรียมความพร้อมของผู้สอน
เพื่อให้ภาพของผู้สอนในการใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างดีและราบรื่น เป็นที่ประทับใจต่อผู้เรียน และสำคัญที่สุดคือ การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอน ดังนั้นผู้สอนควรมีการเตรียมพร้อมในการใช้สื่อการสอน เช่น การเตรียมบทบรรยายประกอบสื่อ การจัดลำดับการใช้สื่อ การตรวจเช็คสภาพหรือทดลองสื่อก่อนการใช้งานจริง 2.2 การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้สอนควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนถึงกิจกรรมการเรียน และลักษณะการใช้สื่อการสอน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทราบบทบาทของตน และเตรียมตัวที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือตอบสนองต่อสื่อ2.3การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน
สื่อการสอนบางอย่างต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นด้วย ดังนั้น ผู้ใช้สื่อ ควรทดสอบการใช้สื่อก่อนใช้งานจริง เช่น การตรวจสอบแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า การตรวจสอบการเสียบปลั๊กหรือสายไฟต่างๆ เป็นต้น 2.4 การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอน
สื่อแต่ละอย่างเหมาะสมที่จะใช้กับสภาพห้องหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น ขนาดของห้องเรียนควรเหมาะสมกับสื่อที่ใช้ สภาพของแสงหรือเสียงก็ควรจัดให้เหมาะสมเช่นกัน
3. การนำเสนอสื่อ (Presentation)
ในช่วงการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน อาจแบ่งช่วงเวลาออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน และช่วงสรุป ในทุกช่วงเวลาสามารถนำสื่อการสอนเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้หรือการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เลือกใช้สื่อการสอนควรมีความเข้าใจว่าสื่อการสอนที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน
การใช้สื่อการสอนช่วงนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการที่จะเริ่มต้นเรียน และเพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่บทเรียน 2. ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน
การใช้สื่อการสอนในช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อถ่ายทอดสาระ ความรู้ หรือเนื้อหาบทเรียนให้แก่ผู้เรียน เพื่อสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3. ช่วงสรุปบทเรียน
ในช่วงสุดท้ายของการสอน ควรมีการใช้สื่อการสอนเพื่อสรุปเนื้อหาที่สำคัญของบทเรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการสรุปสาระที่ควรจำ หรือเพื่อช่วยโยงไปสู่เนื้อหาในบทต่อไป
นอกจากการใช้สื่อการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของช่วงการนำเสนอแล้ว ในขณะที่ใช้สื่อยังมีหลักการที่ควรปฏิบัติดังนี้
1. ใช้สื่อการสอนตามลำดับที่วางแผนไว้ หากพบปัญหาเฉพาะหน้าควรแก้ไขลำดับการนำเสนอในภาพรวมให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
2. ควบคุมเวลาการใช้สื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางอย่างไว้อย่างดีแล้ว คือใช้เวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหา ไม่นำเสนอเร็วหรือช้าเกินไป
3. ไม่ควรให้ผู้เรียนเห็นสื่อก่อนการใช้ เพราะอาจทำให้ผู้เรียนหมดความตื่นเต้นหรือหมดความน่าสนใจ หรือไม่ควรนำเสนอสื่อหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะสื่อหนึ่งอาจแย่งความสนใจจากอีกสื่อหนึ่ง หรืออาจทำให้ผู้เรียนสับสน หรืออาจมีปัญหาในเรื่องการรับรู้ของผู้เรียนที่ไม่สามารถรับรู้ได้พร้อมๆ กัน
4. ทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ เช่น การระดมสมอง การตั้งคำถาม การอภิปราย เป็นต้น
5. การนำเสนอควรมีจุดเน้นและอธิบายรายละเอียดในส่วนที่สำคัญ ในขณะนำเสนอ โดยเฉพาะจุดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจและสับสน
6. การนำเสนอด้วยสื่อควรออกแบบให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิด ผู้เรียนควรมีโอกาสมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือการใช้สื่ออย่างทั่วถึง
4. การติดตามผล (Follow - up)
ภายหลังการใช้สื่อการสอนแล้ว ผู้สอนควรทำการซักถาม ตอบคำถามผู้เรียน หรืออภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพื่อสรุปถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ และเพื่อทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความเข้าใจบทเรียนเพียงใด และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอน ตลอดจนวิธีการใช้สื่อการสอนของครูว่า มีข้อดี ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้าง

จิตวิทยาที่เกี่ยวกับการสร้างสื่อการสอน

จิตวิทยาการรับรู้


จิตวิทยากับธรรมชาติ
การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้
จิตวิทยาการรับรู้ (Perception)
การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)
การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเสี้ยววินาที คนทั่วไปจะแยกไม่ออก ผมเองก็แยกไม่ออก แต่ผมใช้เหตุผลมาแยกขั้นตอนการเกิดออกได้ คือ เพราะว่าเราอยู่ในภาวะการรู้สึก ดังนั้นเราจึงรู้สึกสัมผัส และเพราะว่าเรารู้สึกสัมผัส ดังนั้นเราจึงรู้ความหมาย เป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้สึกสัมผัสก่อนการรู้สึก และเป็นไปไม่ได้ที่เราจะตีความเสียงดังปังก่อนการรู้สึกสัมผัส ดังนั้นมันจะต้องเกิดเป็นขั้นๆ นับจากขั้นการรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การตีความให้รู้ความหมาย อย่างแน่นอน
ถ้าเราวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้จะได้ดังนี้ คลื่นเสียงเดินทางเข้ากระตุ้นที่หู แล้วเกิดการเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นกระแสประสาท จากนั้นจึงเดินทางต่อไปจนถึงแดนการรู้สึกได้ยินคือ Auditory cortex ที่สมองบริเวณขมับ กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเหตุการณ์ทางกาย ทางวัตถุ หรือทางสสาร แต่ในทันใดนั้น การรู้สึกได้ยินเสียงก็เกิดขึ้น(การรู้สึกสัมผัส-sensation) กระแสประสาทจากนิวโรนกลุ่มนั้นจะกระตุ้นนิวโรนข้างเคียงต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนอ่อนกำลัง เมื่อนิวโรนข้างเคียงได้รับการกระตุ้น (กาย) ความรู้สึก(จิต)ก็เกิดขึ้นด้วยควบคู่กัน แต่ความรู้สึกในคราวนี้เรียกว่า การระลึก(Recall หรือ Retrieval) ผลจากการระลึกนี้จะโยงสัมพันธ์กับการรู้สึกสัมผัสที่เกิดอยู่ก่อนแล้วนั้น ทำให้เกิดการรู้ความหมายขึ้น เรียกว่า การรับรู้
การรับรู้เป็นเหตุการณ์ทางจิต เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องเกิดขึ้นในสมอง เพราะนิวโรนเป็นเซลล์ประสาทที่รวมตัวกันเป็นก้อนสมอง ในเมื่อมันอยู่ในสมอง เราจึงดูด้วยตาไม่เห็น แลแม้ว่าเราจะเปิดกระโหลกเข้าไปดูสมองได้ แต่เราก็จะไม่เห็น ความรู้สึกได้ยินเสียง นั้นเลย เพราะมันเป็นอสสาร ไม่มีทางที่เราจะมองเห็นการรู้สึกเจ็บ การรู้สึกรัก ฯลฯ วิ่งไปมาอยู่ในสมองได้เลย ดังนั้น เราต้อง เดา เอาเอง การเดาเอาเองนี้เรียกให้ไพเราะขึ้นก็ว่า เราสันนิษฐาน และผลของการสันนิษฐาน เราเรียกว่าภาวสันนิษฐาน หรือ Construct ที่ได้กล่าวให้ท่านหูอื้อเล่นมาแล้วในเรื่อง Concept นั่นก็คือ การรู้สึกสัมผัสก็ดี การรับรู้ก็ดี เป็น Construct และด้วยเหตุที่มันเป็นผลของกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องโยงสัมพันธ์กับกลุ่มนิวโรนนั้นๆ ถ้าสักวันหนึ่งเราสามารถมองเห็นกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนนั้นๆ(วัตถุ)ที่เกิดควบคู่กับความรู้สึกนั้นๆ(จิต) แล้ว ภาวสันนิษฐานนั้นก็เป็นของจริง(Entity/Fact)
การรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การรับรู้ ต่างก็เป็น ชื่อ ของภาวสันนิษฐาน มันต่างก็เป็นลักษณะหนึ่งของจิตในจำนวนลักษณะของจิตที่มีอยู่มากมาย ภาวสันนิษฐานเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยถูกปฏิเสธจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมแบบ Radical ยังผลให้การวิจัยเรื่องจิตเงียบหายไปราว 60 ปี บัดนี้เราได้เข้าไปศึกษาจิตอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความสนุกสนานมากกว่าเดิม และรวดเร็ว เพราะได้ยืมเครื่องมือสำคัญของ Behaviorism มาใช้ คือ Scientific Method หรือ Empirical Research ภายใต้ธงที่ชื่อ COGNITIVE PSYCHOLOGY


จิตวิทยาการเรียนรู้

เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
เช่นสังคม เศรฐกิจ การเมือง ชีวิตประจำวัน เป็นต้น

จิตวิทยาพัฒนาการ

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชราซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา


การสื่อสาร

www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=697...

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย

1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหล่งหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง

2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้ 3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ

4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้

5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย

6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังผู้ส่งนั่นเอง

กระบวนการสื่อสาร กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส (Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร

1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ

2. มีทักษะในการสื่อสาร

3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี

4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง

5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ

6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ

9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน

11. รู้ขั้นตอนการทำงาน

12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

1. การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น


แบบจำลองของการสื่อสาร

แบ่งตามแนวคิดได้ดังนี้
แลสแวลล์ (Lasswell) เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ได้ทำการวิจัยในเรื่องการสื่อสารมวลชนไว้ ในปี ค.ศ. 1948 และได้คิดสูตรการสื่อสารที่ถึงพร้อมด้วยกระบวนการสื่อสารที่สอดคล้องกัน โดยในการสื่อสารนั้นจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้คือ

ใคร
พูดอะไร โดยช่องทางใด ไปยังใคร ด้วยผลอะไร

การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน


รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่าS.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี


การออกแบบสื่อการเรียนการสอน

การออกแบบสื่อ


องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

หลักในการใช้สื่อ

ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน 4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่

ประโยชน์ของสื่อ

1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้ แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน
<น้ำเงิน>การออกแบบสื่อการสอน เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อสัมฤทธิผลของแผนการสอนที่วางไว้ ความน่าสนใจและความเข้าใจในบทเรียนเป็นผลมาจากประเภท ลักษณะ และความเหมาะสมของสื่อที่ใช้ การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

ลักษณะการออกแบบที่ดี


1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น <สีเขียว>ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน <สีน้ำเงิน>
1.เป้าหมายของการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่กำหรดพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนว่าจะมีลักษณะเช่นไร โดยทั่วไปนิยมกำหนดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนไว้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2. พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Pyschomotor Domain)
3 .พฤติกรรมด้านเจตตพิสัย (Affective Domain) เป็น

องค์ประกอบของการออกแบบ

1. จุด ( Dots )

2. เส้น ( Line )

3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )

4. ปริมาตร ( Volume )

5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )

6.บริเวณว่าง ( Space )

7. สี ( Color )

8. น้ำหนักสื่อ ( Value )

วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน

เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ

1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน


2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน

3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี


4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน


5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน

การผลิตสื่อกราฟิก

ความหมาย
" กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้
วัสดุกราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ
ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้ 1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน 3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7. ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร
การจำแนกประเภทของสื่อวัสดุกราฟิก
ในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสาร ตำรา ในการเรียนการสอน ตลอดจนสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นิยมใช้สัญลักษณ์ทางกราฟิก( Graphic Symbols ) มาประกอบ เพราะสัญลักษณ์เหล่านี้สามารถทำให้ผู้อ่านหรือผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ชัดเจน รวดเร็ว และยังมีความสวยงามน่าสนใจ เช่นเครื่องหมายธนาคาร จะติดไว้สูงๆบนหลังคามองเห็นได้ในระยะไกล

การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน

สีและการใช้สี ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะและมีคูณภาพอีกด้วย ดั้งนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารรถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุดซึ่งแต่ละสีให้ความสรู้สึกลารมณ์แก


ความรู้สึกของสีต่างๆ


สีขาว
ทำให้เกิดความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
สี แดง
ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ
สี ม่วง
ทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า ลึกลับ
สี น้ำเงิน
ทำให้เกิดความรู้สึกสงบ เงียบขรึม
สี เหลือง
ทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่นรื่นเริง
สี ชมพู
ทำให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนโยน
สีส้มแดง (แสด)
ทำให้เกิดความรู้ร้อนแรง
สีดำ หรือ ดำกับขาว
ทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ใจ
สีเทาปนเขียว
ทำให้เกิดความรู้สึกแก่ชรา
สีเขียวปนเหลือง
ทำให้เกิดความรู้สึกหนุ่มหรือสาวขึ้น


ทฤษฎีของสีและการผสมสีดูที่นี้ค่ะ

การเขียนภาพการ์ตูน์

สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความประณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพ

ประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการเขียนภาพการ์ตูนประกอบเรื่องให้กับคนรุ่นนี้ดูตามความรู้สึกของผมแล้ว มีความรู้สึกว่ายากลำบากยิ่งกว่าการเขียนภาพการ์ตูนให้ผู้ใหญ่อ่านเสียอีก เด็กระยะนี้เป็นผู้ช่างคิดช่างค้น มีสมองที่กำลังเจริญอย่างรุนแรง ฉะนั้นการที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุม รอบคอบและมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ฉะนั้น การที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุมรอบคอบ และมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ผู้เขียนเอาตัวของตัวเองเป็นที่สังเกตว่า ระยะที่อายุอยู่ในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังดูดซึมสิ่งแวดล้อมอย่างกระหาย ฉะนั้นหากได้พบภาพเขียนหรือบทประพันธ์ บทกลอนใดๆ ในระยะนั้นที่ประทับใจ แล้ว ความฝังใจจะเกิดขึ้นทันที และจะประทับใจอยู่กับตัวชั่วชีวิต ทั้งในประสบการณ์ด้านดีและด้านร้าย ฉะนั้นการ์ตูนให้เด็กวัย ๑๑ - ๑๖ ขวบ อ่านนี้ จากประสบการณ์ด้วยตนเอง จึงเตือนตนอยู่เสมอมิได้ลืมว่าทั้งก่อประโยชน์มหาศาลให้แก่เด็กและอาจในทางตรงกันข้ามก็ได้"

การออกแบบตัวอักษร


ลักษณะของตัวอักษรไทย นักเรียนควรจะศึกษารูปแบบลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบทางราชการ ได้แก่ ตัวอักษรที่มีลักษณะแบบเรียบ ๆ อ่านง่าย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับทางราชการ องค์การต่าง ๆ ใช้ในการพิมพ์หนังสือเรียน เป็นแบบที่เรียบร้อยแสดงถึงความเป็นระเบียบแบบแผนของความเป็นไทย ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นหัวกลม เช่น


2. รูปแบบอาลักษณ์ หมายถึง แบบตัวอักษรที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ นับแต่พระบรมราชโองการ เอกสารทางราชการ หรือการจารึกเอกสารสำคัญ เช่นรัฐธรรมนูญ งานเกียรติยศต่าง ๆ

3. รูปแบบสมเด็จกรมพระนริศฯ หมายถึง ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบที่ใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกา สปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด

4. รูปแบบประดิษฐ์ หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร
ตัวอักษรไทยมีขนาดไม่เท่ากัน พอจะแบ่งได้ดังนี้
1. แบบอักษรตัวเต็ม ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยมากพยัญชนะไทยจะมีขนาดตัวเต็ม เช่น ก ข ค ง จ ฯลฯ2. แบบตัวอักษรตัวครึ่ง ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างกว่าตัวเต็ม ในแบบที่ 1 อีกประมาณครึ่งตัว มีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ ณ ญ ฒ ฌ 3. แบบอักษรครึ่งตัว ได้แก่ อักษรที่เป็นสระมีความกว้างประมาณครึ่งตัวอักษรของแบบที่ 1 เช่น ะ า เ โ ไ ใ
แบบตัวอักษรทั้ง 3 แบบ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงหลักเกณฑ์เบื้องต้นเท่านั้น เมื่อนักเรียนเกิดความเข้าใจดีแล้ว ก็จะเกิดความชำนาญต่อไปสามารถดัดแปลงได้อีกมากมายหลายแบบไม่มีที่สิ้นสุด
ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร สามารถออกแบบให้เกิดความเหมาะสมได้อีก เช่น
1. แบบปกติ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความหนา ช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรมีขนาดเท่า ๆ กัน ไม่แคบ หรือห่างกันเกินไป
2. แบบตัวกว้าง คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรขยายกว้างกว่าปกติ เพื่อขยายให้เกิดความพอดีกับบริเวณที่ต้องการออกแบบตัวอักษรลงบนพื้นที่กว้างกว่าปกติ
3. แบบตัวแคบ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างในตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรแคบกว่าปกติ เพื่อให้เกิดความพอดีกับเนื้อที่ที่จะใช้ออกแบบตัวอักษรลงในงานที่มีพื้นที่แคบได้อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษร
การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ

2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด

3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก

4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ

การสร้างสื่อราคาเยา

การสร้างสื่อราคาเยา

แนวคิดทางการศึกษา ปัจจุบันมุ่งขยายขอบเขตทรัพยากรการเรียนรู้ออกไปทุกแบบ เช่น สื่อเกี่ยวกับบุคคล อาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษา เกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้เป็นการเรียนการสอนนั้น จึงมิได้จำกัดอยู่เพียง สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อโดยตรงเท่านั้น แต่วัสดุการสอน หมายถึง วัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง

ข้อสนับสนุนการใช้สื่อราคาเยา
1.ความจำเป็นของเศรษฐกิจของชาติ
ในข้อนี้นักศึกษาและครูผู้สอนผู้บริหารการศึกษา ย่อมทราบและตระหนักอยู่แล้วว่า ประเทศของเรากำลังพัฒนา หลาย ๆ ด้าน โดยอย่างยิ่ง การใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อการพัฒนา ประเทศอุตสาห์กรรมใหม่ ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ เป็นจำนวนเงินมหาศาล ในด้านการศึกษามีดโครงการ กู้เงินจากต่างประเทศ เป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้น การพิจารณาจัดหาสื่อหรือเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ จึงควร คำนึงเรื่องการประหยัดไว้ให้มาก
1.ฐานะการเงินของโรงเรียน
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านการศึกษาได้ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ในรูปวัสดุเครี่องมือประกอบการสอนใหม่ ๆ อย่าง มากมาย เป็นที่สนใจของครูผู้สอนและผู้บริหารการศึกษา มีความพยายามที่จะจัดซื้อ หาเทคโนโลยีหลายรูปแบบก่อให้เกิดปัญหา ทั้งในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณมาก และโรงเรียนขนาดเล็กมีงบจำนวนที่จำกัด
ในโรงเรียนขนาดใหญ่มีงบมากพอที่จะจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์แต่เทคโนโลยีด้านวัสดุมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้โรงเรียนยังเห็นว่าขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาทำให้ไม่เพียงพอสำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์บางอย่าง โรงเรียนบางแห่งก็มีวิธีการหาเงินมาจัดซื้อเช่นการบริจาคของผู้ปกครอง
โรงเรียนขนาดเล็กก็มีงบจำกัด บางแห่งขาดการวางแผนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เมื่อซื้อมาแล้ว ใช้ไม่คุ้มค่า เก็บไว้นานก็เสื่อมสภาพดูแลไม่ถูกวิธี
3. วัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูปมีราคาสูง
ตัวอย่างราคาวัสดุอุปกรณ์ในปี 2537 ราคาสไลด์ 2x2 นิ้ว จำนวน 30 ภาพ ราคาในประเทศไทย 400-600 บาท ถ้าจากต่างประเทศ ราคาเพิ่มเป็นเท่าตัว แม้ว่าครูผู้สอนจะสามารถผลิตสไลด์ได้เอง ค่าใช้จ่ายก็ยังใกล้เคียงที่ซื้อสำเร็จรูปเนื่องจากวัตถุดิบมีราคาสูง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรพิจารณาสื่อราคาเยาที่สามารถผลิตหรือหาได้ง่ายจากท้องถิ่น
4. สื่อสำเร็จรูปไม่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคม
สื่อสำเร็จรูปที่ผลิตและจำหน่าย อาจใช้วิธีการที่สื่อความหมาย บนพื้นฐานของประเพณี ทางกายภาพที่แตกต่างไป จากสภาพชีวิตและสังคมของนักเรียนในห้อง สื่อความหมายอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร เช่นการใช้ภาพยนต์ การศึกษาที่ผลิตจากต่างประเทศ
5. คุณสมบัติของสื่อ ที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้
สื่อสำเร็จรูปทั้งหลาย เป็นเพียงประสบการณ์จำลอง คุณค่าทางด้านการเรียนจึงมีข้อจำกัด สื่อราคาเยาที่หาได้ในท้องถิ่น นั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์จริง อย่างกว้างขวาง มีโอกาสที่จะใช้สื่อเป็นของจริงมากขึ้น

ความหมายและคุณค่าและประโยชน์ของสื่อราคาเยา


สื่อราคาเยานอกจากจะหมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน1. สิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นสิ่งธรรมชาติสามารถนำใช้ประกอบการเรียนการสอนในรูปของ ของจริง ใช้ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงปรุงแต่ง เช่น ดิน หิน ทราย ต้นไม้ ใบไม้ แม่น้ำ ผลไม้ สนามหญ้า แม่น้ำ ป้ายจราจร ฯลฯ ซึ่งจำแนกประเภทได้เป็น

1.1 พืช ใช้เป็นสื่อการสอนได้มากมายทั้งในการสอนที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพืชโดยตรง หรือใช้ส่วนของพืช หรือสร้างความเข้าใจในการสอนเรื่องอื่น เป็นของจริงที่หาง่ายที่สุด แต่มักจะถูกมองข้าม ตัวอย่างที่พบเห็นได้ เช่น ครูต้องสอนให้นักเรียนทราบ และเข้าใจถึงรูปร่าง ลักษณะ หน้าที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ของต้นไม้ อันได้แก่ ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก ผล แทนที่ครูจะให้นักเรียนได้ศึกษาจากต้นไม้จริง ๆ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงเรียน ครูกลับใช้วิธีเขียนรูปต้นไม้บนกระดานชอล์ค เพื่อใช้อธิบายส่วนประกอบ ในขณะที่บริเวณโรงเรียน หรือแม้แต่ข้างห้องเรียนที่กำลังสอนอยู่ มีต้นไม้เป็นจำนวนมาก ที่เปิดโอกาสให้ครู นำเด็กออกไปสัมผัสกับต้นไม้จริง ซึ่งจะทำให้บรรยากาศ ของการเรียนดีกว่าการนั่งในห้อง ส่วนของพืชที่จะใช้ประกอบการสอนได้นั้นน่าจะใช้ได้ทุกส่วน นับตั้งแต่ รากแบบต่าง ๆ ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด เส้นใย ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนจะพิจารณาเลือกให้เหมาะสม

1.2 สัตว์ อาจเป็นส่วนของสัตว์ เช่น เปลือกหอย ปะการัง หนังสัตว์ เขาสัตว์ งา ขน เกล็ด หรือ แม้แต่สัตว์ทั้งตัวที่หาง่ายและไม่เป็นอันตราย ไก่ ปลา ปู กบ นก ก็สามาถนำมาใช้เป็นของจริงประกอบการสอนได้ทั้งสิ้น

1.3 แร่ธาตุ เช่น หิน ดิน ทราย สินแร่ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะดิน หิน มักจะมีอยู่ทั่วไป ครูอาจนำเข้ามาในห้องเรียนหรือนำนักเรียนออกไปศึกษาก็ได้

1.4 ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เช่น แสงแดด กระแสลม กระแสน้ำ ฝนเมฆหมอก

2. สื่อราคาเยาที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย วัสดุเหลือใช้ เศษวัสดุ หรือวัสดุราคาถูก เช่น ขวดเปล่า กระป๋อง เศษผ้า ถุงเท้า หลอดไฟฟ้า หลอดกาแฟ กระดาษหนังสือพิมพ์ วัสดุจากต้นไม้ สิ่งเหล่านี้ครูสามารถนำมาปรุงแต่ง ดัดแปลง ให้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณค่าได้ โดยอาศัยทักษะงานฝีมือ เพียงเล็กน้อยสื่อการเรียนการสอนที่ประดิษฐ์มาจากวัสดุราคาเยาจะมีคุณภาพหรือมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวครูผู้ผลิตและผู้ใช้เป็นสำคัญว่าจะมีคุณสมบัติ มีความสามารถดีเพียงใด คุณสมบัติของครู หรือผู้ประดิษฐ์และใช้วัสดุราคาเยาด้ ดีมีดังนี้

1. เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติทั่วไปที่ครูทุกคนจะต้องมี แต่ในเรื่องนี้ ครูจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์มากเป็นพิเศษ ในเรื่องการมองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว และสามารถนำคุณค่าต่าง ๆ เหล่านั้นออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เช่นครูบางคนมองเห็นก้อนหินที่เด็กชอบเล่นอยู่ตามบริเวณโรงเรียนเป็นสิ่งไร้ค่า พอใจกับการนับเลขบนกระดานดำ ส่วนครูอีกคนหนึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ ที่จำนำเอาก้อนหินเหล่านั้นมาใช้สอนการนับจำนวน หรือเรื่องอื่นๆ ได้

2. มีทักษะในงานช่างและงานฝีมือ เพราะการประดิษฐ์เศษวัสดุ ย่อมต้องอาศัยทักษะความรู้ความชำนาญทางช่างหรือการฝีมือที่ละเอียดอ่อนอยู่บ้าง

3. มีความรักและตั้งใจที่จะทำ ข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก สำหรับครูที่จะประดิษฐ์สื่อจากวัสดุราคาเยา เพราะแม้ว่าท่านจะมีความคิดดี มีทักษะในงานช่างฝีมือเยี่ยมยอดเพียงใดก็ตาม แต่หากไม่นำความคิดและทักษะเหล่านั้นออกมาใช้ อย่างจริงจังและต่อเนื่องก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อการศึกษา เป็นความจริงที่พบเห็นอยู่มากคือ บุคคลที่ผลิตสื่อประกอบการสอน จนมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับจากครู นักเรียน ผู้บริหาร นั้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือความสามารถทางช่าง ทางศิลปะ ที่ดีเด่นเป็นพิเศษแต่อย่างใด หากแต่เป็นความคิด และทักษะ ในระดับธรรมดาที่ครูผูสอนทั่วไปพึงจะมีได้ แต่สิ่งสำคัญที่เขามีแตกต่างจากคนอื่น คือ ความรัก ความตั้งใจที่จะทำ มีความสุขกับการประดิษฐ์สื่อการสอน และทำงานอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

4. มีความรู้ความเข้าใจหลักสูตรเนื้อหาวิชา และจิตวิทยา การเรียนรู้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ครูทุกคนจะต้องมี แต่การที่จะพิจารณาเลือก ตัดสิน ประเมินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆเพื่อนำมาใช้เป็นสื่อหรือกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ครูจะต้องมีคุณสมบัติด้านนี้ดีเป็นพิเศษ จึงจะสามารถใช้สิ่งที่ดูมีคุณค่าน้อยให้เกิดประโยชน์มากขึ้นได้โดยการประดิษฐ์ตลอดจนใช้สื่อให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจและจิตวิทยา การเรียนรู้ เช่นพยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิต การจัดและการใช้ เป็นต้น

5. รู้จักสภาพธรรมชาติของท้องถิ่น เพื่อที่จะให้สามารถแสวงหาวัสดุจากสถานที่ต่าง ๆ ในท้องถิ่นมาใช้ได้มากที่สุด รวมถึงการรู้จักท้องถิ่นในด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเพณี ความเชื่อของคนในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้ครูสร้างสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมยิ่งขึ้น

3. สื่อการสอนได้เปล่าหน่วยงาน องค์การหลายแห่งทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ได้จัดทำสื่อเพื่อการเผยแพร่ ความรู้ต่างๆ เช่น โปสเตอร์ รูปภาพ แผ่นปลิว จุลสาร หรือแม้วัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาสูงเช่น เทปเสียง เทปภาพภาพสไลด์ ออกเผยแพร่แจกจ่าย เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สถานีอนามัย ไปรษณีย์ บริษัท ห้างร้าน สถานทูต สถานกงศุลแนวปฏิบัติในการผลิตและจัดหาสื่อจากท้องถิ่น

1. มีการศึกษาสำรวจสภาพท้องถิ่นล่วงหน้า เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแหล่งวัสดุต่าง ในเรื่องชนิด จำนวน วิธีการได้มา

2. เปิดโอกาสนักเรียนตลอดจนถึงผู้ปกครองนักเรียน มีส่วนในการนำวัสดุอุปกรณ์จากท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

3. พิจารณาประเมินคุณค่า ของสื่อวัสดุที่นำมาใช้ เปรียบเทียบกับการใช้สื่อในลักษณะอื่น เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการใช้สื่อประกอบการสอนเนื้อหานั้น ๆ ในครั้งต่อไป

4. พิจารณาให้เหมาะสม ในเรื่องการนำสื่อ จากท้องถิ่นเข้ามาใช้ห้องเรียนกับการนำนักเรียนออกไปศึกษานอกห้องเรียนว่าจะคุ้มค่า เสี่ยงอันตรายหรือไม่


หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา


ตัวอย่างการเลือกสื่อการสอนที่พบเห็นได้เสมอ เช่นครูสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับจำนวน การบวก การลบ และต้องการวัสดุเป็นชิ้น ๆ ก้อน ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือนับจำนวน แทนที่ครูจะนึกถึงก้อนดิน หิน หรือวัสดุอื่นอีกมาก ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่น มาให้นักเรียนนับ แต่ครูกลับนึกถึงก้อนแม่เหล็กเป็นอันดับแรก และพยายามเรียกร้องให้มีการจัดซื้อกระดานแม่เหล็กมาใช้สอนนับจำนวน กรณีเช่นนี้เราได้นับจำนวนก้อนหินดูจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการนับชิ้นส่วนบนกระดานแม่เหล็กเสียอีก ถ้าก้อนหินหาได้ง่ายนักเรียนทุกคนสามารถหามาได้ง่าย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ

วัสดุการสอน หมายถึงวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ครูพึงหามาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนส่วนหนึ่งมักจะมองข้ามไป เมื่อนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงเฉพาะสื่อสำเร็จรูป จำพวกรูปภาพ แผนภูมิสไลด์ ที่มีผลิตขายเป็นธุรกิจการค้า ราคาค่อนข้างสูง สิ่งของที่หาได้ง่ายสำหรับการสอนบางเนื้อหา เช่น ใบไม้ ก้อนหิน ดิน ทราย บางครั้งมีคุณค่ายิ่งกว่าสื่อข้างต้นเสียอีก ถ้ารู้จักนำมาใช้อย่างเหมาะสมเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของจริง ซึ่งเรายอมรับกันว่ามีคุณค่าสูงสุด สำหรับการเรียนการสอน


การประเมินสื่อการเรียนการสอนราคาเยา

1. ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจของชาติ ในข้อนี้นักศึกษาตลอดถึงครูผู้สอน ผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายย่อมทราบและตระหนักกันอยู่แล้วว่าประเทศของเรา เป็นประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อการพัฒนาไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ต้องกู้เงินจากต่างประเทศปีละมาก ๆ ต้องจ่ายเงินกลับให้ต่างชาติรวมเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินมหาศาล ในด้านการศึกษาเองก็มีโครงการที่กู้เงินจากต่างประเทศมาดำเนินการอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อสภาพการณ์ เป็นเช่นนี้ การพิจารณาจัดหาสื่อหรือ เทคโนโลยีการศึกษามาใช้จึงควรคำนึงถึงเรื่องการประหยัดไว้ให้มาก2. ฐานะการเงินของโรงเรียน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการศึกษา ได้ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ในรูปวัสดุ เครื่องมือประกอบการสอนใหม่ ๆ อย่างมากมายเป็นที่สนใจของครูผู้สอน และผู้บริหารการศึกษาทั่วไป มีความพยายามที่จะจัดซื้อจัดหาเทคโนโลยีหลายรูปแบบ ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในโรงเรียนขนาดใหญ่ ที่มีงบประมาณดำเนินมาก และโรงเรียนขนาดเล็กที่งบประมาณมีอย่างจำกัดในโรงเรียนขนาดใหญ่ เช่นโรงเรียนในตัวเมืองมีนักเรียนมาก มีงบประมาณมากพอที่จะจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย เข้ามาไว้ในโรงเรียน แต่เทคโนโลยีด้านวัสดุ และเครื่องมือต่าง มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาประกอบกับความต้องการที่ดูจะไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้โรงเรียนเห็นว่า ยังขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัยอยู่ตลอดไป งบประมาณที่ว่ามีมากแล้ว ก็กลับไม่เพียงพอสำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์บางอย่างซื้อไม่ได้ด้วยเงินบำรุงการศึกษาหรืองบประมาณแผ่นดิน โรงเรียนบางแห่งก็มีวิธีการหาเงินจากแหล่งอื่นมาจัดซื้อ เช่น เรียกร้องให้มีการบริจาค จากผู้ปกครองของนักเรียน สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนกันอยู่ทั่วไปในโรงเรียนขนาดเล็กงบประมาณมีจำกัด ก็มีความพยายามเช่นเดียวกัน ที่จะจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้ทัดเทียมกับโรงเรียนขนาดใหญ่ บางแห่งขาดการวางแผนที่ชัดเจนว่า จะซื้อวัสดุอุปกรณ์นั้น ๆ มาเพื่ออะไร คุ้มค่าหรือไม่ มีค่าใช้จ่ายในการใช้และการบำรุงรักษาตามมามากน้อยเพียงใด เมื่อซื้อมาแล้วใช้ไม่คุ้มค่าเก็บไว้นานก็เสื่อมสภาพ เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีเช่น โรงเรียนบางแห่งพยายามหาทุนจัดซื้อเครื่องฉายภาพยนตร์ 16 ม.ม.แต่เมื่อซื้อมาแล้วมีโอกาสใช้เพียง 2 - 3 ครั้งต่อปี เนื่องจากมีปัญหาการจัดหา หรือยืมฟิล์มมาฉาย3. วัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูปมีราคาสูง ตัวอย่างราคาวัสดุอุปกรณ์ในปี พ.ศ.2537 ราคาสไลด์ การศึกษาขนาด 2"x 2" เรื่องหนึ่งจำนวน 30 ภาพ ราคาขายสำหรับสไลด์ที่ผลิตขึ้นโดยหน่วยงานภายในประเทศประมาณ 400-600 บาท ถ้าผลิตมาจากต่างประเทศ ราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แม้ว่าครูผู้สอนจะสามารถผลิตสไลด์เองค่าใช้จ่ายก็จะใกล้เคียงกับที่ซื้อสำเร็จรูป เนื่องจากวัตถุดิบ เช่นฟิล์มและค่าล้างฟิล์ม มีราคาสูง เครื่องฉายสไลด์มีราคาตั้งแต่ 8,000 - 30,000 บาท วิดีโอเทป รายการทางการศึกษา 1 ม้วน ราคาตั้งแต่ 250-1,200 บาท เครื่องเล่นวิดีโดเทปราคาตั้งแต่ 8,000 บาท ถึงหลายหมื่นบาท สื่ออื่น ๆ เช่น แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง ล้วนแต่ราคาสูง ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงควรหันมาพิจารณาสื่อราคาเยา ที่สามารถผลิตหรือหาได้ง่ายจากท้องถิ่นแทนที่จะเรียกร้องหาวัสดุอุปกรณ์อันทันสมัยอย่างเดียว4. สื่อสำเร็จรูปไม่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคม สื่อสำเร็จรูปที่ผลิตจำหน่าย อาจใช้วิธีการสื่อความหมายบนพื้นฐานของประเพณีวัฒนธรรมและสภาวะแวดล้อมทางกายภาพที่แตกต่างไปจากสภาพชีวิตและสังคมของนักเรียนในห้อง การสื่อความหมายอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่น การใช้ภาพยนตร์การศึกษาที่ผลิตจากต่างประเทศ5 คุณสมบัติของสื่อที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้สื่อสำเร็จรูปทั้งหลายเป็นเพียงประสบการณ์จำลองเท่านั้น คุณค่าด้านการเรียนรู้จึงมีข้อจำกัด ส่วนสื่อราคาเยาที่หาได้ในท้องถิ่นนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงอย่างกว้างขวางเพราะมีโอกาสที่จะใช้สื่อที่เป็นของจริงได้มาก

การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) คืออะไร?


CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน
ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสม
การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ
ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร
ขั้นตอนในการออกแบบ CAI มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : ขั้นตอนการเตรียม (Preparation)
ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่จะทำการออกแบบบทเรียน ขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องเตรียมพร้อม ในเรื่องของความชัดเจน ในการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูล การเรียนรู้เนื้อหา เพื่อให้เกิดการสร้างหรือระดมความคิดในที่สุด ขั้นตอนการเตรียมนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากตอนหนึ่งที่ผู้ ออกแบบต้องใช้เวลาให้มาก เพราะการเตรียมพร้อมในส่วนนี้ จะทำให้ขั้นตอนต่อไปในการออกแบบเป็นไป อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 2 : ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)
เป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมถึงการทอนความคิด การวิเคราะห์งาน แนวคิดการออกแบบขั้นแรก การประเมินและแก้ไขการออกแบบ ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนนี้ เป็นขั้นตอนที่กำหนดว่า บทเรียนจะออกมาในลักษณะใด
ขั้นตอนที่ 3 : ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
ผังงานคือ ชุดของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม การเขียนผังงานเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ก็เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี จะต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และสามารถถูกถ่ายทอดออกมาได้ อย่างชัดเจนที่สุด ในรูปของสัญลักษณ์ การเขียนผังงานจะนำเสนอลำดับขั้นตอน โครงสร้างของบทเรียน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 : ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
การสร้างสตอรี่บอร์ด เป็นขั้นตอนของการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้ง สื่อในรูปแบบ มัลติมีเดียต่าง ๆ ลงบนกระดาษ เพื่อให้การนำเสนอเป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ สตอรี่บอร์ดนำเสนอเนื้อหา และลักษณะของการนำเสนอขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด รวมไปถึงการเขียน สคริปต์ ที่ผู้เรียนจะได้เห็นบนหน้าจอ ซึ่งได้แก่ เนื้อหา คำถาม ผลป้อนกลับ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ในขั้นนี้ควรที่จะมีการประเมินผล และทบทวน แก้ไขบทเรียนจากสตอรี่บอร์ดนี้ จนกระทั่งผู้ร่วมทีมพอใจกับ คุณภาพของบทเรียน
ขั้นตอนที่ 5 : ขั้นตอนการสร้าง / เขียนโปรแกรม (Program Lesson)
เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเขียนโปรแกรมนั้นหมายถึง การใช้โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการสร้างบทเรียน เช่น Multimedia ToolBook ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะต้อง รู้จักเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสม การใช้โปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถได้มาซึ่งงานที่ตรกับความต้องการและลดเวลาในการสร้างได้ส่วนหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 6 : ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials)
เอกสารประกอบการเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เอกสารประกอบการเรียนอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับการแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนมีความต้องการแตกต่างกันไป ดังนั้น คู่มือสำหรับผู้เรียน และผู้สอนจึงไม่เหมือนกัน
ขั้นตอนที่ 7 : ขั้นตอนการประเมินและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise)
ในช่วงสุดท้าย บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมด ควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมิน ในส่วนของการนำเสนอและการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้น ผู้ที่ควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อน ในการประเมินการทำงานของผู้ออกแบบ ควรที่จะทำการสังเกต พฤติกรรมของผู้เรียน ในขณะที่ใช้บทเรียนหรือสัมภาษณ์ผู้เรียนหลังการใช้บทเรียน

ขั้นตอนการออกแบบการสอนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและสนับสนุน กระบวนการเรียนรู้ ภายในของผู้เรียน ที่จริงแล้วขั้นตอนการสอนนี้ ออกแบบ เพื่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้สื่อการสอนต่างๆ เข้าช่วยได้ อย่างไรก็ตามในโลกปัจจุบัน การเรียนการสอนไม่จำกัด ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เรียนจึงต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง มากขึ้น ดังนั้นขั้นตอนการสอนจึงนำมาประยุกต์ใช้ กับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งขั้นตอนการสอน ประกอบไปด้วย 9 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ดึงดูดความสนใจ
เพื่อเป็นการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียน เป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่มีเป้าหมาย และถึงเป้าหมายในที่สุดการดึงดูดความสนใจอาจใช้ภาพ สี หรือภาพเคลื่อนไหวต่างๆแต่หากใช้มากเกินใปอาจก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม คือ ทำให้ผู้ใช้รำคาญได้
ขั้นตอนที่ 2. บอกวัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงเป้าหมายในการเรียนโดยรวม หรือสิ่งต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถทำได้ เมื่อเรียนจบบทเรียน สิ่งสำคัญ คือ ช่วยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจในเนื้อหาดีขึ้น ตระหนักในเป้าหมายของตน เกิดความพยายามมากขึ้นนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 3. ทบทวนความรู้เดิม
เพื่อทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน เพราะผู้เรียนมีพื้นฐานความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการปูความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการรับรู้ใหม่ให้ผู้เรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากประเมินแล้วขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็น จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจัดให้มีการให้ความรู้พื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 4. การเสนอเนื้อหาใหม่
การนำเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อช่วยให้การรับรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบในการนำเสนอ ได้แก่ การใช้ข้อความ ภาพนิ่ง ตารางข้อมูล กราฟ แผนภาพ กราฟฟิก จนถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ รวมเรียกว่า มัลติมิเดียนั้นนับเป็นการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และจำเนื้อหาได้นาน
ขั้นตอนที่ 5. ชี้แนวทางในการเรียนรู้
การไม่บอกคำตอบหรือนำเสนอแนวคิด หรือเนื้อหาโดยตรงกับผู้เรียน แต่ใช้การสอนแบบค้นพบ หรือการสอนแบบอุปมา ถือได้ว่าเป็นการชี้แนวทางการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนพยายามวิเคราะห์หาคำตอบ หรือคิดเนื้อหาใหม่ได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 6. กระตุ้นการตอนสนอง
มักจะออกมาในรูปของกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการคิด และปฏิบัติในเชิงโต้ตอบ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการให้ผู้เรียนแสดงถึงความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียน เช่น การออกแบบปุ่มคำถาม หรือกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนตอบคำถามสั้นๆ
ขั้นตอนที่ 7. ให้ผลป้อนกลับ
คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความถูกต้อง และระดับความถูกต้องของคำตอบนั้นๆ ถือเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน สามารถแบ่งผลป้อนกลับได้ 4 ประเภทดังนี้
1. แบบไม่เคลื่อนไหว (passive feedback) หมายถึง การเสริมแรงด้วยการแสดงคำหรือข้อความว่า ถูกต้อง ผิด ข้อความว่า "ตอบอีกครั้ง" หรือข้อความที่บอกเป็นนัย
2. แบบเคลื่อนไหว (active feedback) หมายถึง การเสริมแรงด้วยการแสดงภาพ หรือกราฟฟิค
3. แบบโต้ตอบ (interactive feedback) หมายถึง การเสริมแรงด้วยการให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมเชิงโต้ตอบกับบทเรียน
4. แบบทำเครื่องหมาย (markup feedback) หมายถึง การทำเครื่องหมายบนคำตอบของผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 8. ทดสอบความรู้
เป็นการประเมินว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร อาจเป็นการทดสอบหลังจาก เรียนจบวัตถุประสงค์หนึ่ง หรืออาจเป็นช่วงระหว่างบทเรียน หรือช่วงหลังจากผู้เรียนเรียนจบเล้วก็ได้
ขั้นตอนที่ 9. การจำและนำไปใช้
เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการจำข้อมูลความรู้ใด ข้อมูลความรู้นั้น หมายถึง การทำให้ผู้เรียนตระหนักว่า ข้อมูลความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้ไปนั้น มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลความรู้เดิม หรือประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยอย่างไร โดยมีการจัดหากิจกรรมใหม่ๆ ต้องเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ ที่เพิ่งเรียนรู้มา ให้แตกต่างไปจากตัวอย่างที่ใช้ในบทเรียน
ลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การพิจารณาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพ ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
1. เนื้อหาถูกต้องและเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน
2. เป็นบทเรียนที่สามารถใช้ได้ง่ายผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน ก็สามารถเข้าสู่โปรแกรมและออกจากโปรแกรมและทำตามที่โปรแกรมกำหนดไว้ได้
3. มีความชัดเจนในการนำเสนอเนื้อหาไม่สับสน คำอธิบายบนจอภาพกระชับได้ใจความ ทำให้ผู้เรียนสบายใจ ไม่เกิดความกลัวในขณะเรียน
4. จำนวนเนื้อหาในแต่ละกรอบมีความเหมาะสมและมีความหลากหลายเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อในขณะเรียน
5. ใช้ภาษา หรือคำบรรยายให้เหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน
6. กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และมีปฏิกริยาโต้ตอบเช่น แสดงผลว่าผู้เรียนตอบคำถามถูกต้องหรือไม่
7. ประเมินผลสอบของผู้เรียนได้ เช่น คะแนนที่ได้ เวลาที่ใช้ในการเรียน
การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีความน่าสนใจและตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้ผลิตควรพิจารณาถึงขั้นตอน
และวิธีการสร้าง เพื่อสะดวกในการวางแผน การทำงาน และการตรวจสอบ มีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาหลักสูตรและผู้เรียนเป้าหมาย เพื่อที่จะได้ทราบรายละเอียดของเนื้อหาวิชา พื้นความรู้และความพร้อมของผู้เรียน เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและประกอบการสร้างบทเรียน
2. กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือสิ่งที่คาดหวังของหลักสูตร เพื่อเป็นกำหนดรูปแบบและลักษณะของการนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรม
3. วิเคราะห์เนื้อหา จัดทำแผนภูมิข่ายงานให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน แสดงลำดับก่อน หลัง ของหัวเรื่องต่าง ๆอย่างสมบูรณ์
4. จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ
5. สร้างข้อความในแต่ละกรอบเนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ ข้อความของกรอบควรสัมพันธ์กับเนื้อหาและหน้าที่ของแต่ละกรอบ ซึ่งจะประกอบด้วยกรอบต่าง ๆ 4 กรอบ ดังนี้
5.1 กรอบหลัก (Set frame) เป็นกรอบที่จะให้ข้อมูล โดยที่ผู้เรียนสามารถจะเรียนรู้ในเรื่องที่ไม่เคยเรียนมาก่อน
5.2 กรอบฝึกหัด (Practice frame ) เป็นกรอบที่จะให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดข้อมูลที่ได้จากกรอบหลัก
5.3 กรอบรองส่งท้าย (Sub-terminal frame ) เป็นกรอบที่เขียนเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด หรือตอบผิดต่าง ๆ ซึ่งอาจข้ามกรอบนี้ไป ถ้าผู้เรียนตอบถูก
5.4 กรอบส่งท้าย (Terminal frame ) เป็นกรอบทดสอบโดยผู้เรียนจะนำความรู้ในกรอบหลักมาตอบ
6. เข้ารหัสตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ซึ่งต้องแปลงรหัสตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ เช่น Authorware หรือ Tool Book หรือโปรแกรมอื่น ๆ ตามลักษณะและความต้องการของบทเรียน
7. ป้อนบทเรียนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลา และทักษะทางคอมพิวเตอร์ พอสมควรในการสร้างบทเรียน ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน เรื่อง การสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Macromedia Authorware 5.2
8. ตรวจสอบความเรียบร้อยของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาตามแผนที่กำหนดไว้ และความเรียบร้อยว่ามีความบกพร่องหรือมีปัญหาอย่างไรบ้างให้แก้ไขให้ถูกต้อง
9. ทำการทดลองใช้กับผู้เรียนเพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไข ก่อนนำไปใช้จริงลองหากลุ่มตัวอย่างมาทดลองใช้ดูแล้ว ลองสังเกต สอบถาม หรือสัมภาษณ์ดูว่าเขามีปฏิกริยาอย่างไร แล้วปรับปรุงแก้ไข เช่น สังเกตว่าผู้เรียนเกิดอาการเบื่อ เครียด ไม่เข้าใจ หรือตอบคำถามในบทเรียนผิดบ่อยครั้งแสดงว่าต้องปรับปรุง การเลือกกลุ่มตัวอย่างควร หาทั้งคนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อจะได้หาข้อบกพร่องของแต่ละกลุ่ม
10. นำไปใช้จริงเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน เมื่อปรับปรุงแก้ไขแล้วควรนำไปใช้จริงเพื่อหาประสิทธิภาพโดยศึกษาวิธีหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในบทต่อไป
11. ติดตามผล เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขต่อไป

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับ“สื่อสิ่งพิมพ์”ไว้ว่า “สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน” “สื่อ หมายถึง ก. ทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน น. ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน” “พิมพ์ หมายถึง ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา น. รูป , รูปร่าง, ร่างกาย, แบบ” ดังนั้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จึงมีความหมายว่า “สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ”

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาท ดังต่อไปนี้

1. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์, วารสาร, นิตยสาร เป็นต้น

2. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทำให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

3. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซองจดหมาย, ใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ, โฆษณาหน้าเดียว, นามบัตร เป็นต้น

4. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงิน และงานที่เกี่ยวกับ หลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ใบนำฝาก, ใบถอน, ธนบัตร, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง

5. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า ปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิว, แผ่นพับ, จุลสาร

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

- หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง

- หนังสือบันเทิงคดี เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้ สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน

- วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน

- จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ

- สิ่งพิมพ์โฆษณา

- โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่มจำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า

- ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย

- แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้นเป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ

- ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง สิ่งพิมพ์มีค่า เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้น สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฎิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น

ระบบการพิมพ์


ในโลกนี้มีอยู่หลายอย่างค่ะ แต่ที่จะแนะนำนี่เป็นระบบที่นิยมใช้ในบ้านเรา
1. ระบบออฟเซ็ตระบบออฟเซ็ต เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สมุดหนังสือ ใบปลิว โปสเตอร์ ใบเสร็จ ล้วนแต่พิมพ์ด้วยระบบนี้ทั้งนั้น เพราะพิมพ์ได้สวยงาม พิมพ์ภาพได้ดี พิมพ์สี่สีก็สวย เหมาะสำหรับงานที่ยอดพิมพ์สูงๆ ควรจะหลายพันหรือเป็นหมื่นขึ้นไปจึงจะคุ้ม เพราะแม่พิมพ์มีราคาแพง พิมพ์สิบใบก็ได้ แต่ราคาต่อใบจะสูงมาก
2. ระบบซิลค์สกรีนการพิมพ์ซิลค์สกรีนพิมพ์ภาพได้ไม้ค่อนดี เหมาะกับงานลายเส้น งานที่มียอดพิมพ์น้อย งานพิมพ์บนวัสดุที่พิมพ์ยาก เช่น สติกเกอร์ ไม้ แก้ว หนัง ผ้าและแผ่นซีดีอะไรพวกนี้แหละค่ะ อ้อ ... นิยมใช้พิมพ์นามบัตรด้วยคะ เพราะนามบัตรยอดพิมพ์น้อย
3. การพิมพ์โรเนียวแบบดิจิตอลตอนเป็นนักเรียนเคยสังเกตข้อสอบไหมคะ ใช้กระดาษเนื้อฟูๆ พิมพ์แต่ตัวหนังสือ หรือถ้าเป็นภาพก็เป็นภาพลายเส้น แล้วก็ไม่ค่อยคมชัด แค่พอดูออก พวกนั้นเกิดจากการพิมพ์โรเนียวค่ะ แต่ถึงวันนี้โรเนียวแบบโบราณเริ่มจะหายไปแล้วค่ะ มีคนคิดเครื่องใหม่ๆขึ้นมา คล้ายๆเครื่องถ่ายเอกสาร แต่ใช้หลักการเหมือนการโรเนียว
คงไม่อะธิบายให้งงหรอกค่ะ เอาเป็นว่าผลงานของเจ้าเครื่องสมัยใหม่นี่ ช่วยให้พิมพ์ภาพได้ดีขึ้น ความคมชัดดีขึ้น แม้จะสู้ระบบออฟเซ็ตไม่ได้ แต่ข้อดีคือ ต้นทุนตํ่า พิมพ์ไม่กี่สิบใบก็พิมพ์ได้ ไปจนถึงร้อย หรือพันใบก็ยังไหว เหมาะกับพวกใบปลิว การ์ดเชิญง่าย ฎีกาผ้าป่าอะไรเทือกนี้แหละค่ะ ลูกค้าของเราบางคนใช้พิมพ์สัญญากู้เงินก็ยังมีเลยค่ะ


การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน


การพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น
ชาวจีนเป็นประเทศแรกที่คิดค้นวิธีการพิมพ์ขึ้นก่อน โดยค้นพบวิธีการทำกระดาษ การทำหมึก และตัวพิมพ์ขึ้นโดย ใช้ดินเหนียว ต่อมาชาวเกาหลีได้คิดค้นดัดแปลงตัวพิมพ์ทำด้วย โลหะหล่อซึ่งได้ผลในการพิมพ์ดีขึ้นและทนทาน สามารถนำมา ใช้ได้หลายครั้งเป็น เวลานาน หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เยอรมัน อังกฤษ และอเมริกา ได้พัฒนาการพิมพ์ให้มี ประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นจน ปัจจุบันสามารถพิมพ์ภาพสีได้เหมือนกันธรรมชาติมากที่สุด การพิมพ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อราว รัชกาลที่ 4 โดย บุคคลที่นำระบบ การพิมพ์มาเผยแพร่ได้แก่ หมด บลัดเลย์ ซึ่งเป็นผู้เริ่มงานพิมพ์เป็นคนแรก





การเขียนโปรแกรม Protoshot

โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพ หัวใจสำคัญของ Photoshopคือ Layer
วิธีการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีดังนี้ไปที่เมนู File/New แล้วกำหนดค่าต่าง ๆ คือWidth : กำหนดความกว้างของกระดาษHeight : กำหนดความสูงของกระดาษมีหน่วยเป็น Pixel,inches,cm.,mm.ให้กำหนดเองแล้วแต่กรณีResolution : เลือกเป็น 300 DPIโหมด RGB : เป็นแม่สีของแสง

- R = สีแดง (Red)

- G = สีเขียว (Green)

- B = สีน้ำเงิน (Blue)โหมด CMYK : เม็ดสี, ฝุ่นสี

- C = สีฟ้า (Cyan)

- M = สีม่วงแดง(Mageta)

- Y = สีเหลือง (Yellow)

- K = สีดำ (Black)

การตัดภาพด้วยเครื่องมือ

1. บบต่างๆการตัดภาพในโปรแกรม Photoshop นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี1. การตัดภาพด้วย Magic Wand Tool เครื่องมือนี้จะทำการเลือกSelection โดยการเลือกเอาส่วนที่เป็นสีแนวเดียวกันไว้ด้วยกัน



เครื่องมือ Magic Wand Tool




เลือกวัตถุในภาพที่มีสีเดียวกัน ในขอบเขตเดียวกัน






สามารถทำการเลือกเพิ่มได้ โดยการกด Shift ค้างไว้




สามารถตัดภาพ โดยดึงออกโดยใช้เครื่องมือ Move Tool

การตัดภาพในโปรแกรม Protoshot

2. ตัดภาพโดยใช้ Lasso Tool เครื่องมือนี้นำมาใช้สำหรับในการเลือกพื้นที่ของภาพทีเราต้องการจะนำไปใช้เครื่องมืออันนี้จะอยู่ในหมวด Lassoเครื่องมือ Polygonal นี้เป็นเครืองมือที่ การใช้งานคล้ายๆ กับ Lassoเราลองมาใช้กันดูดีกว่า เครื่องมือนี้อยู่ที่ไหน ?



การบันทึกงาน

- เก็บไฟล์ต้นฉบับไว้เสมอ (.psd เมื่อใช้ PhotoShop) เนื่องจากสามารถแก้ไขงานได้
- เลือกประเภทไฟล์ใช้งานให้เหมาะสมการบันทึกงานในนามสกุลต่างๆ
- บันทึกเป็น . psd เนื่องจากสามารถแก้ไขงานได้- บันทึกเป็น .gif ภาพที่มีสีน้อย, ต้องการความคมชัดต่ำ ภาพที่ต้องการความคมชัดสูงๆ- บันทึกเป็น JPEG แสดงสีมากๆ เป็นภาพที่สมบูรณ์แล้ว ไม่เปลืองพื้นที่


การบันทึกงาน

- เก็บไฟล์ต้นฉบับไว้เสมอ (.psd เมื่อใช้ PhotoShop) เนื่องจากสามารถแก้ไขงานได้
- เลือกประเภทไฟล์ใช้งานให้เหมาะสมการบันทึกงานในนามสกุลต่างๆ
- บันทึกเป็น . psd เนื่องจากสามารถแก้ไขงานได้- บันทึกเป็น .gif ภาพที่มีสีน้อย, ต้องการความคมชัดต่ำ ภาพที่ต้องการความคมชัดสูงๆ- บันทึกเป็น JPEG แสดงสีมากๆ เป็นภาพที่สมบูรณ์แล้ว ไม่เปลืองพื้นที่

รูปรุ่นพี่ คอมพิเตอร์ศึกษา




นี้คือพี่ธีรวุฒ หรือ พี่บอย
นิสัยเป็นคนใจดี ตรงไปตรงมา
รักเดียวใจเดียว









นี้คือพี่สมภพ หรือ พี่ภพ
นิสัยพี่เขาเป็นคนใจดีใจเย็น (เจ้าชู้มากๆเลยค่ะ)












นี้คือพี่ทัศนี หรือ พี่นี
นิสัย น่ารักใจดีมากๆ









นี้คือพี่เอกสิทธิ์ หรือ พี่ก๊อก
นิสัยเป็นคนใจดีน่ารัก (ชอบรักแต่คนสวยๆ)












นี้คือปาริชาติ หรือ พี่ปลา
นิสัยเป็นคนน่ารัก เรียนเก่ง(ชอบเที่ยวมาก)











นี้คือพี่สมชาย หรือพี่ชาย
นิสัยเป็นคน พูดเร็วมากๆ












นี้คือพี่สายัญ หรือ พี่คิด
นิสัยรักแฟนมาก (ชอบแอบแฟนสูบบหรี่)